แนวโน้มของการศึกษาแบบ e-Learning กับการสาธารณสุขในประเทศไทย

เขียนโดย ictadmin เมื่อ . หัวข้อ Uncategorized

         การศึกษาด้วยวิธี e-Learning  ในประเทศไทยนั้น ปัจจุบันได้รับการยอมรับให้มีคุณวุฒิเทียบเท่ากับการศึกษาแบบระบบปกติ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่ามีมาตรฐานที่เทียบเท่า  ในความเป็นจริงไม่เพียงแต่ระบบการศึกษาทางไกลผ่าน Internet ที่จะถูกนำมาเปรียบเทียบกับระบบการศึกษาในห้องเรียนปกติ ในเรื่องของมาตรฐานและรับรองวิทยฐานะ เฉพาะระบบการศึกษาในห้องเรียนเองก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันไม่จบว่ามีมาตรฐานไม่เท่ากัน  ซึ่งก็เป็นที่ทราบกันดีในตลาดแรงงาน เราจะเห็นได้ว่ามาตรฐานทางการศึกษาในประเทศไทยนั้น ขึ้นอยู่กับระบบการบริหารการจัดการที่ดีและชื่อเสียงเก่าแก่ของสถาบัน มากกว่ารูปแบบการศึกษา ซึ่งในปัจจุบันการให้โอกาสทางการศึกษาต่างหากที่เป็นประเด็นที่ประเทศที่เจริญแล้วให้ความสนใจอย่างยิ่ง และดูเหมือนว่าจะให้ความสำคัญมากกว่าในประเด็นของมาตรฐานการศึกษาเสียอีก นั่นอาจเป็นเพราะว่าประเทศเหล่านั้นเชื่อว่า  ในที่สุดคุณภาพนั้นจะถูกตัดสินโดยตลาดงานเอง  ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้ว คำว่ามาตรฐานการศึกษาหมายถึงการที่ประชากรทุกคนในประเทศไม่ว่าจะอยู่ ณ มุมใดก็มีโอกาสได้รับการศึกษาในหลักสูตรเดียวกันได้อย่างเท่าเทียมและเปิดโอกาสให้นักเรียนและครูผู้สอนเป็นผู้กำหนดหลักสูตรร่วมกัน ซึ่งวิธีนี้จะมีส่วนช่วยในการพัฒนามาตรฐานการเรียนการสอนในท้ายที่สุด

         ในส่วนของการศึกษาทางไกลในประเทศไทยกำลังเริ่มเป็นที่นิยมกันมากขึ้น เนื่องจากรูปแบบการดำรงชีวิตของผู้คนในปัจจุบันนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปตามที่กล่าวไปข้างต้น  ทั้งนี้ในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย ได้นำระบบนี้เข้ามาใช้ได้ระยะหนึ่งแล้ว  แต่ความนิยมส่วนใหญ่จะเป็นการเรียนการสอนที่เป็นลักษณะหลักสูตรการเรียนการสอนสั้นๆ มากกว่าจะศึกษาในระดับปริญญา ซึ่งอุปสรรคที่สำคัญของการนำ e-Learning เข้ามาสู่สังคมไทย นั่นคือค่านิยมที่ยังฝังลึกของการศึกษาแบบเดิม ทั้งนี้มหาวิทยาลัย ในประเทศไทยนั้น มีมากกว่า 100 แห่ง เพียงแค่ในกรุงเทพมหานคร ก็มีมหาวิทยาลัยอยู่มากกว่า 30 แห่ง ที่เปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ไปจนกระทั่งปริญญาเอก แต่มีเพียงไม่กี่มหาวิทยาลัยเท่านั้น ที่ได้รับการยอมรับจากตลาดแรงงาน นักศึกษาส่วนใหญ่จึงพยายามที่จะเข้าสู่รั้วของมหาวิทยาลัยที่ได้รับการยอมรับให้ได้ ทำให้การเรียนในระบบออนไลน์ยังไม่เป็นที่นิยมมากเท่าใดนัก


การเรียนการสอนในระบบ e-Learning ในประเทศไทย

          ย้อนกลับมาที่คุณภาพของ e-Learning ทั้งต่างประเทศและในประเทศ ในส่วนของอาจารย์ผู้สอนโดยทั่วไปก่อนที่จะเริ่มทำการสอน อาจารย์ทุกคนต้องผ่านการ Train ซึ่งต้องทำผ่าน Internet ทั้งหมด มหาวิทยาลัยจะส่งสัญญาการจ้างและ Faculty Training CD มาทาง FedEx โดยมีงานที่ได้รับมอบ (Assignment) ให้ปฏิบัติ เช่นการค้นหาข้อมูลจาก e-Library ของมหาวิทยาลัย มีการทดสอบให้ทำการตรวจข้อสอบและให้คะแนนในระบบ online ของมหาวิทยาลัย มีการทดสอบให้ทำการตอบคำถามของนักศึกษาบนระบบ Threaded Discussion อาจารย์ใหม่ทุกคนจะได้รู้จักและพูดคุยกันกันบนระบบนี้ ซึ่งต้องทำงานที่ได้รับมอบ ให้เสร็จตามกำหนด  หลังจากนั้นมหาวิทยาลัยจะกำหนดวิชาและเริ่มทำการสอน ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถรับประกันถึงความสามารถของผู้ที่จะสอนได้ในระดับหนึ่ง

          ในส่วนของการนำระบบ e-Learning มาใช้กับการเรียนการสอนด้านการสาธารณสุขในประเทศไทยนั้นถือได้ว่ายังอยู่ในช่วงเริ่มต้น มีการนำระบบ e-Learning มาใช้ในสถานศึกษาด้านการสาธารณสุขอยู่บ้าง เช่น ในวิทยาลัยพยาบาลพยาบาลราชชนนีและวิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก  ซึ่งก็ได้นำระบบการศึกษาออนไลน์ มาใช้ในการเรียนการสอนหลักสูตรผู้ช่วยการพยาบาล  ในส่วนของความนิยมในการศึกษาด้านการแพทย์ของประเทศไทย ก็มีลักษณะคล้ายกันกับที่กล่าวในข้างต้น กล่าวคือ การใช้ e-Learning ยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก (นักศึกษาแพทย์นิยมการเรียนแบบ resident มากกว่า)  ซึ่งยังไม่มีสถิติหรือรายงานปรากฏว่าการเรียนการสอนด้านการแพทย์ของประเทศไทย มีการเรียนการสอนที่ใช้ระบบ e-Learning อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งนี้อาจจะมีการเรียนการสอนเป็นเพียงหลักสูตรสั้นๆ หรือการใช้ระบบ e-Learning เพียงเพื่อเป็นเครื่องมือประกอบการเรียนการสอนในรูปของการรับ-ส่งการบ้าน หรือการอ่านสรุปเนื้อหาในชั้นเรียนเท่านั้น สาเหตุที่ระบบ e-Learning ยังไม่เป็นที่นิยมสำหรับการเรียนการสอนด้านสาธารณสุขในประเทศไทยก็เนื่องมาจากการขาดแคลนอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอน ตัวอย่างเช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟแวร์ด้านการแพทย์และการสาธารณสุขที่จะนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอน บุคลากรด้านการสาธารณสุขที่มีความรู้ด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร รวมไปถึงการขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสาร และ Internet  


e-Learning ของวิทยาลัยพยาบาลเครือข่ายภาคกลาง

ขอขอบคุณที่มา http://www.scimath.org/computerarticle/item/1101